พระคาถาชินบัญชรสมเด็จ
พระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี )
กำเนิดพระคาถาชินบัญชร
กำเนิดพระคาถาชินบัญชร เรียบเรียงโดยคุณปัญญา นี้ได้คัดลอกมาจากหนังสือ พระคาถาชินบัญชร
เมื่อครั้งนั้น สมเด็จ (โต) ได้มีโอกาสเดิทางไปยัง จังหวัดกำแพงเพชร ท่านได้เดินทางไปที่วัดเก่าแห่งหนึ่งซึ่งมีกรุโบราณ ที่นั่นท่านได้พบคัมภีร์โบราณผูกหนึ่งฝังอยู่ในเจดีย์หัก สมเด็จจึงนำคัมภีร์ผูกนั้นมาเก็บไว้ที่กุฏิ ขณะนั้นสมเด็จ (โต) ท่านมีจิตดำริที่จะสร้างพระเครื่องเพื่อมอบให้แก่เจ้าปิยะ (ร.5) หรือพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อเป็นสมบัติในยุคสมัยครองราชย์ ระหว่างครุ่นคิดสมเด็จ (โต) ท่านก็ได้จำวัดหลับไป
ในคืนนั้นราวๆประมาณตี 3 สมเด็จ (โต) ได้นิมิตว่าท่านได้ตื่นขึ้น เห็นชายหนุ่มรูปงามรูปหนึ่งมายืนอยู่ที่หัวนอนในชุดนุ่งขาวห่มขาว มีรูปลักษณ์งดงามหาที่ติมิได้เลย สมเด็จ(โต) ท่านก็มองขึ้นตามกำหนดของจิต ทราบว่าหนุ่มรูปงามนี้คงจะไม่ใช่มนุษย์อย่างแน่นอน
สมเด็จ (โต) จึงถามว่า "ท่านผู้เจริญ การที่อาตมาได้มีโอกาสชมท่านนับว่าเป็นขวัญตาเหลือเกิน ท่านมาในสถานที่แห่งนี้ มีสิ่งใดที่อาตมาปฏิบัติผิดพลาดในหลักพระพุทธศาสนาเล่า ? ขอให้ท่านจงประสาทประทานการสอนให้อาตมาแจ่มแจ้งในพระธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเถิด
"ชายหนุ่มผู้นั้นจึงกล่าวขึ้นด้วยคำพูดที่เย็นกังวาน "ท่านโต วิธีการที่ท่านดำเนินงานอยู่นี้คล้ายกับองค์สมณะโคดมอยู่ แต่การที่ท่านคิดจะสร้างพระให้เป็นสิ่งที่ระลึกของมนุษย์นั้น สร้างแล้วสิ่งนั้นจะต้องดี ท่านโตเชื่อในเรื่องวิญญาณ เพราะฉะนั้นควรจะปฏิบัติตามกฏของโลกวิญญาณ คือวิธีการตั้งให้ถูกหลักการในการปลุกเสก
"สมเด็จ(โต) ท่านจึงกล่าวว่า "ท่านผู้เจริญ ขรัวโตนี้รับฟังความคิดเห็นของทุกคนหากแม้นท่านโปรดข้านี้ ขอได้โปรดบอกมาเถิด จะด่าว่าตักเตือนเราก็ไม่ว่า
"หนุ่มรูปงามผู้มีความสงบแลดูเป็นที่เลื่อมใส จึงได้แนะวิธีการต่างๆในเรื่องทิศทางว่าทิศใดเป็นทิศมงคล ในการวาง เทียน ธูป ดอกไม้ เทียนชัย ให้ตรงตามหลักของกฏระเบียบแห่งโลกวิญญาณ เรียกว่าเทวบัญญัติ หรือพรหมบัญญัติระหว่างนั้นสมเด็จ (โต) ยังคุมสติสัมปชัญญะอยู่ทุกเมื่อ จึงได้ถามหนุ่มรูปงามนั้นว่า "ท่านผู้รูปงามท่านนี้มีนามว่ากระไรหรอ?"
"หม่อมฉันนี้คือลูกศิษย์องค์พระโมคคัลลานะ หม่อมฉันสำเร็จเป็นอรหันต์เมื่ออายุ 7 ขวบ แต่ด้วยทิ้งสังขารก่อนอายุขัยจึงมิได้สู่แดนอรหันต์ คงยังอยู่ในแดนพรหมโลก เพราะหม่อมฉันไม่อยากติดสตรีมิชอบสตรี เพราะสตรีทำลายพรหมจารีย์ของหม่อมฉัน หม่อมฉันจึงทิ้งสังขารก่อนอายุขัย ทางโลกวิญญาณถือว่าสิ้นก่อนอายุขัย จึงอยู่รูปพรหม ถ้าท่านโตต้องการปรึกษาจากหม่อมฉัน ก็จงระลึกถึงชินนะบัญจะระ" มานพหนุ่มรูปงามกล่าวต่อสมเด็จ (โต) อย่างสำรวม
ต่อมาไม่ว่าสมเด็จ (โต) จะทำงานสิ่งใด จึงมักระลึกถึง ท่านท้าวมหาพรหมชินนะบัญจะระทีไร ท่านก็ปรากฎร่างทันที ช่วยเหลือสมเด็จ (โต) ประกอบพิธีต่างๆ จึงทำให้เครื่องรางของขลังของสมเด็จ (โต) มีความศักดิ์สิทธิ์มาก
สมเด็จ (โต) ท่านปลุกเสกพระสมเด็จรุ่นสุดท้าย 84,000 องค์ เรียกว่าสมเด็จอิทธิเจ ท่านได้แปลคาถาจากคัมภีร์ ซึ่งท่านพบจากกรุวัดที่กำแพงเพชร ซึ่งคัมภร์นั้นเขียนด้วยภาษาสิงหลได้ความบ้าง มิได้ความบ้าง จับใจความได้ว่าเป็นชื่ออรหันต์แปดสิบองค์ จึงได้ตัดต่อแก้ไขเพิ่มเติมเพื่อง่ายต่อการสวด จึงแปลใหม่ได้ความว่า "คาถาชินบัญชร" ซึ่งตรงกับชื่อท่านท้าวมหาพรหมชินนะบัญจะระ สมเด็จ (โต) ท่านจึงถือคาถาบทนี้เป็นการเทิดทูนท่านท้าวมหาพรหมชินนะบัญจะระ ที่ท่านได้ช่วยเหลือตลอดมา และพระคาถาบทนี้เป็นบทสวดในการนั่งปลุกเสกพระอิทธิเจรุ่นสุดท้าย ซึ่งสมเด็จ (โต) ท่านนั่งปลุกเสกอยู่เพียงผู้เดียว
พระคาถานี้มีอนุภาพศักดิ์สิทธิ์มาก ผู้ใดสวดมนต์หรือภาวนาอยู่เป็นประจำ ไม่ว่าจะ กิน เดิน นั่งนอน หรือภาวนาแม้ยามอาบน้ำ แปรงฟัน หรือทำงาน จะมีอนุภาพดังนี้ คือ
1. หากสวดมนต์อย่างน้อยวันละ 3 จบ อานุภาพจะคุ้มครองผู้นั้นไป 1 วัน กับ 1 คืน
2. เวลานั่งรถ เรือ หรือขับขี่รถ หรือเดินทาง ให้นึกภาวนาไปในใจ จะทำให้คลาดแคล้ว ปลอดภัยจากอุบัติเหตุทั้งปวงได้ชงัดนักเคยพ้นมามากต่อมากแล้ว
3.ผู้สวดมนต์ พระคาถานี้เป็นประจำ จะเป็นเสน่ห์มงคลด้วยประการทั้งปวง ไม่ว่าท่านจะอยู่ในเหตุการณ์ร้ายแรงอย่างใด ให้ภาวนาจะปลอดภัย แม้คนถูกกระทำของใส่คุณ หากเรารู้ตัวแล้วภาวนามิได้ขาด รับรองได้ว่าเขาทำอะไรเราไม่ได้เลย
4. หากภาวนาประจำมิได้ขาดเลยเรามักมีอะไรพิเศษ เช่น อาจฝันรู้เหตุการณ์ล่วงหน้า หากนอนแล้วภาวนาจนกระทั่งหลับ (ในใจ) คืนนั้นจะนอนหลับสบายเป็นพิเศษ ตื่นขึ้นมาจะมีความสุขปลอดโปร่งแจ่มใสเป็นพิเศษ บางทีกลางคืนจะมีอะไรดีๆ มาสอนเราด้วย
5. ผู้ที่มีอำนาจสมาธิจิตสูง สามารถจะภาวนาพระคาถานี้ ทำน้ำมนต์รักษาโรคบางชนิด ที่แพทย์ปัจจุบันรักษาไม่หายให้หายได้
6. ใครเจ็บไข้อยู่หากมีคนอื่น (แม้มิใช่ญาติ) บนบานกล่าวว่าจะสวดมนต์ให้ร้อยเที่ยว ห้าร้อยเที่ยว หรือหนึ่งพันเที่ยว ให้แก่เจ้ากรรมนายเวรเขามักจะหายป่วยจริงๆ (เคยทดลองมาแล้วแม้คนต่างศาสนากัน) หากผู้เจ็บป่วยที่นอนรักษาตัวอยู่ที่ไหนก็แล้วแต่หากภาวนาพระคาถานี้อยู่เรื่อยๆจะทำให้เขาหายป่วยเร็วขึ้น มากจนน่าแปลกใจ
7. ผู้ประกอบอาชีพต่างๆ หากยามว่างให้ภาวนาพระคาถาบทนี้จะทำให้อาชีพดีขึ้น เช่น ค้าขายดีขึ้นแม้ปลูกพืช ปลูกผักผลผลิตจะดีขึ้นหรือรายได้ดีขึ้น เด็กๆ นักเรียนหากสวดมนต์บทนี้ได้และสวดประจำบ่อยๆ หรือทุกคืนก่อนนอน จะเรียนเก่ง จำดีอย่างแน่นอนรับรอง
8. ผู้สวดมนต์พระคาถาบทนี้เป็นประจำแล้ว ประกอบอาชีพสุจริตไปด้วย จะทำให้ลดวิบากกรรมตัวเองให้เบาลงกว่าที่จะได้รับจริง หากกุศลส่งก็จะหนุนให้กุศลส่งแรงขึ้น หากใช้ไปนานชั่วชีวิตจะประสบสุขตามกุศลแน่นอน
9. เมื่อร่วมกันสวดอธิษฐานพร้อมๆ กันหลายคน หรือเวลาเดียวกัน จะมีอานุภาพบริสุทธิ์แผ่ออกไปกว้างไพศาลมากทำให้ผู้สวดก็ดี สถานที่บริเวณก็ดี รวมไปถึงประเทศชาติจะได้เจริญ และรอดพ้นจากภัยพิบัติทั้งหลายที่จะเกิดขึ้นแก่ประเทศ เราได้ ทำให้ประเทศเราเด่นดังในที่สุดได้
(อานุภาพของพระคาถายังมีอีกมาก หากทุกท่านหมั่นสวดมนต์ภาวนา ความเจริญ ความเมตตา หากินคล่องก็จะอยู่กับท่าน)
ผู้ใดได้สวดภาวนาพระคาถาชินบัญชรนี้เป็นประจำอยู่สม่ำเสมอ จะทำให้เกิดความสิริมงคลสมบูรณ์พูนผล ศัตรูหมู่พาลไม่กล้ำกราย ไปทางใดย่อมเกิดเมตตามหานิยม เกิดลาภผลพูนทวี ขจัดภัยจากภูตผีปีศาจ ตลอดจนคุณไสยต่างๆ ทำน้ำมนต์รดแก้วิกลจริตแก้สรรพโรคภัยหายสิ้น เป็นสิริมงคลแก่ชีวิต มีคุณานุภาพตามแต่จะปรารถนา ดังคำโบราณว่า "ฝอยท่วมหลังช้าง" จะเดินทางไปที่ใดๆ สวด 10 จบ แล้วอธิษฐานจะสำเร็จสมดังใจ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
ปุตตะกาโมละเภปุตตัง ธะนะกาโมละเภธะนัง
อัตถิกาเยกายะญายะ เทวานังปิยะตังสุตตะวา
อิติปิโสภะคะวา ยะมะราชาโน ท้าวเวสสุวัณโณ
มรณังสุขัง อะระหังสุคะโต นะโมพุทธายะ
๑ ชะยาสะนาคะตา พุทธา เชตะวา มารัง สะวาหะนัง จะตุสัจจาสะภัง ระสัง เย ปิวิงสุ นะราสะภา.
๒ ตัณหังกะราทะโย พุทธา อัฏฐะวีสะติ นายะกาสัพเพ ปะติฏฐิตา มัยหัง มัตถะเก เต มุนิสสะรา.
๓ สีเส ปะติฏฐิโต มัยหัง พุธโธ ธัมโม ทะวิโลจะเนสังโฆ ปะติฏฐิโต มัยหัง อุเร สัพพะคุณากะโร.
๔ หะทะเย เม อะนุรุทโธ สารีปุตโต จะ ทักขิเณโกณฑัญโญ ปิฏฐิภาคัสมิง โมคคัลลาโน จะวามะเก.
๕ ทักขิเณ สะวะเน มัยหัง อาสุง อานันทะราหุโลกัสสะโป จะ มะหานาโม อุภาสุง วามะโสตะเก.
๖ เกสันเต ปิฏฐิภาคัสมิง สุริโย วะ ปะภังกะโรนิสินโน สิริสัมปันโน โสภิโต มุนิปุงคะโว.
๗ กุมาระกัสสะโป เถโร มะเหสี จิตตะวาทะโกโส มัยหัง วะทะเนนิจัง ปะติฏฐาสิ คุณากะโร.
๘ ปุณโณ อังคุลิมาโล จะ อุปาลี นันทะสีวะลีเถรา ปัญจะ อิเม ชาตา นะลาเฏ ตีละกา มะมะ.
๙ เสสาสีติ มะหาเถรา วิชิตา ชินะสาวะกาเอเตสีติ มะหาเถรา ชิตะวันโต ชิโนระสาชะลันตา สีละเต เชนะ อังคะมังเคสุ สัณฐิตา.
๑๐ ระตะนัง ปุระโต อาสิ ทักขิเณ เมตตะสุตตะกังธะชัคคัง ปัจฉะโต อาสิ วาเม อังคุลิมาละกัง.
๑๑ ขันธะโมระปะริตตัญจะ อาฏานาฏิยะสุตตะกังอากาเส ฉะทะนัง อาสิ เสสา ปาการะสัณฐิตา.
๑๒ ชินนานา วะระสังยุตตา สัตตะปาการะลังกะตาวาตะปิตตาทิสัญชาตา พาหิรัชฌัตตุปัททะวา.
๑๓ อะเสสา วินะยัง ยันตุ อะนันตะชินะเตชะสาวะสะโต เม สะกิจเจนะ สะทา สัมพุทธะปัญชะเร.
๑๔ ชินะปัญชะระมัชฌัมหิ วิหะรันตัง มะฮี ตะเลสะทา ปาเลนตุ มัง สัพเพ เต มะหาปุริสาสะภา.
๑๕ อิจเจวะมันโต สุคุตโต สุรักโขชินานุภาเวนะ ชิตุปัททะโวธัมมานุภาเวนะ ชิตาริสังโฆสังฆานุภาเวนะ
ชิตันตะราโยสัทธัมมานุภาวะปาลิโต จะรามิ ชินะปัญชะเรติ. (กราบ ๓ หน)
คำแปลพระคาถาชินบัญชร
1. ชะยาสะนากะตา พุทธา เชตะวา มารังสะวาหะนัง จะตุสัจจาสะภัง ระสัง เย ปิวิงสุ นะราสะภาพระพุทธเจ้าและพระนราสภาทั้งหลายผู้ประทับนั่งแล้วบนชัยบัลลังก์ ทรงพิชิตพระยามาราธิราช ผู้พรั่งพร้อมด้วยเสนาราชพาหนะแล้ว เสวยอมตรสคือ อริยสัจธรรมทั้งสี่ประการ เป็นผู้นำสรรพสัตว์ให้ข้ามพ้นจากกิเลสและกองทุกข์
2. ตัณหังกะราทะโย พุทธา อัฏฐาวีสะติ นายะกาสัพเพ ปะติฏฐิตา มัยหัง มัตถะเก เต มุนิสสะรามี 28 พระองค์ คือพระผู้ทรงพระนามว่า ตัณหังกรเป็นอาทิพระพุทธเจ้าจอมมุนีทั้งหมดนั้น.
3. สีเส ปะติฏฐิโต มัยหัง พุทโธ ธัมโม ทะวิโลจะเน สังโฆ ปะติฏฐิโต มัยหัง อุเร สัพพะคุณากะโรข้าพระพุทธเจ้าขออัญเชิญมาประดิษฐานเหนือเศียรเกล้าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประดิษฐานอยู่บนศีรษะพระธรรมอยู่ที่ดวงตาทั้งสอง พระสงฆ์ผู้เป็นอากรบ่อเกิดแห่งสรรพคุณ อยู่ที่อก.
4. หะทะเย เม อะนุรุทโธ สารีปุตโต จะ ทักขิเณโกณฑัญโญ ปิฏฐิภาคัสมิง โมคคัลลาโน จะวามะเกพระอนุรุทธะอยู่ที่ใจ พระสารีบุตรอยู่เบื้องขวา พระโมคคัลลาน์อยู่เบื้องซ้าย พระอัญญาโกณฑัญญะอยู่เบื้องหลัง
5. ทักขิเณ สะวะเน มัยหัง อาสุง อานันทะราหุโล กัสสะโป จะ มะหานาโน อุภาสุง วามโสตะเกพระอานนท์กับพระราหุลอยู่หูขวา พระกัสสะปะกับพระมหานามะอยู่หูซ้าย
6. เกสะโต ปิฏฐิภาคัสมิง สุริโย วะ ปะภังกะโรนิสินโน สิริสัมปันโน โสภีโต มุนิ ปุงคะโวมุนีผู้ประเสริฐ คือ พระโสภิตะผู้สมบูรณ์ด้วยสิริ ดังพระอาทิตย์ส่องแสงอยู่ที่ทุกเส้นขน ตลอดร่างทั้งข้างหน้าและข้างหลัง
7. กุมาระกัสสะโป เถโร มะเหสี จิตตะวาทะโกโส มัยหัง วะทะเน นิจจัง ปะติฏฐาสิ คุณากะโรพระเถระกุมาระกัสสะปะผู้แสวงบุญทรงคุณอันวิเศษ มีวาทะอันวิจิตรไพเราะอยู่ปากเป็นประจำ
8. ปุณโณ อังคุลิมาโลจะ อุปาลี นันทะสีวะลีเถรา ปัญจะอิเมชาตา นะลาเฏ ติละกา มะมะพระปุณณะ พระอังคุลิมาล พระอุบาลี พระนันทะ และพระสีวะลี พระเถระทั้ง 5 นี้ จงปรากฏเกิดเป็นกระแจะจุณเจิมที่หน้าผาก
9. เสสาสีติ มะหาเถรา วิชิตา ชินะสาวะกาเอเตสีติ มะหาเถรา ชิตะวันโต ชินโนระสาชะลันตา สีละเตเชนะ อังคะมังเคสุ สัณฐิตาส่วนพระอสีติมหาเถระที่เหลือ ผู้มีชัยและเป็นพระโอรสเป็นพระสาวกของพระพุทธเจ้าผู้ทรงชัย แต่ละองค์ล้วนรุ่งเรืองไพโรจน์ด้วยเดชแห่งศีลให้ดำรงอยู่ทั่วอวัยวะน้อยใหญ่
10. ระตะนัง ปุระโต อาสิ ทักขิเณ เมตตะสุตตะกัง ธะชัคคัง ปัจฉะโต อาสิ วาเม อังคุลิมาละกังพระรัตนสูตรอยู่เบื้องหน้า พระเมตตาสูตรอยู่เบื้องขวา พระอังคุลิมาลปริตรอยู่เบื้องซ้าย พระธชัคคะสูตรอยู่เบื้องหลัง
11. ขันธะโมระปะริตตัญจะ อาฏานาฏิยะ สุตตะกัง อากาเส ฉะทะนัง อาสิ เสสา ปาการะสัณฐิตาพระขันธปริตร พระโมรปริตรและพระอาฏานาฏิยสูตร เป็นเครื่องกางกั้นดุจหลังคาอยู่บนนภากาศ
12. ชินา นานา วะระสังยุตตา สัตตัปปาการะลังกาตา วาตะปิตตาทิสัญชาตา พาหิรัชฌัตตุปัททะวาอนึ่งพระชินเจ้าทั้งหลายนอกที่ได้กล่าวมาแล้วนี้ ผู้ประกอบพร้อมด้วยกำลังนานาชนิดมีศีลาทิคุณอันมั่นคง คือสัตตะปราการเป็นอาภรณ์มาตั้งล้อมเป็นกำแพงคุ้มครองเจ็ดชั้น
13. อะเสสา วินะยัง ยันตุ อะนันตะชินะเตชะสาวะเสโต เม สะกิจเจนะ สะทา สัมพุทธะปัญชะเรด้วยเดชานุภาพแห่งพระอนันตชินเจ้าไม่ว่าจะทำกิจการใด ๆ เมื่อข้าพระพุทธเจ้าเข้าอาศัยอยู่ในพระบัญชรแวดวงกรงล้อม แห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ขอโรคอุปัทวะทุกข์ทั้งภายนอกและภายใน อันเกิดแต่โรคร้าย คือ โรคลมและโรคดีเป็นต้น เป็นสมุฏฐานจงกำจัดให้พินาศไปอย่าได้เหลือ
14. ชินะปัญชะระมัชฌัมหิ วิหะรันตัง มะหีตะเลสะทา ปาเลนตุ มัง สัพเพ เต มะหาปุริสา สะภาขอพระมหาบุรุษผู้ทรงพระคุณอันล้ำเลิศทั้งปวงนั้น จงอภิบาลข้าพระพุทธเจ้า ผู้อยู่ในภาคพื้นท่ามกลางพระชินบัญชร ข้าพระพุทธเจ้าได้รับการคุ้มครองปกปักรักษาภายในเป็นอันดี ฉะนี้แล
15. อิจเจวะมันโต สุคุตโต สุรักโข ชินานุภาเวนะชิตูปัททะโว ธัมมานุภาเวนะ ชิตาริสังโฆ สังฆานุภาเวนะชิตันตะวาโย สัทธัมมานุภาวะปาลิโต จะรามิชินะปัญชะเรติ.ข้าพระพุทธเจ้า ได้รับการอภิบาลด้วยคุณานุภาพแห่งสัทธรรม จึงชนะเสียได้ซึ่งอุปัทวะอันตรายใด ๆ ด้วยอานุภาพแห่งพระชินะพุทธเจ้า ชนะข้าศึกศัตรูด้วยอานุภาพแห่งพระธรรม ชนะอันตรายทั้งปวงด้วยอานุภาพแห่งพระสงฆ์ ขอข้าพระพุทธเจ้าจงได้ปฏิบัติและรักษาดำเนินไปโดยสวัสดีเป็นนิจนิรันดร เทอญ.