Wednesday, November 25, 2009

พระคาถาบูชาหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน

พระคาถาบูชาหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน


คาถาบูชาหลวงพ่อเงิน

พุทธโชติหมายเหตุ หลวงพ่อเงิน วัดคงคาราม หลวงพ่อเงิน วัดท้ายน้ำและ

หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน (วัดหิรัญญาราม) คือองค์เดียวกัน

วัดท้ายน้ำ ( วัดเก่าหลวงพ่อเงิน ) อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร



ให้ตั้ง นะโมฯ 3 จบ แล้วสำรวมจิตกล่าวคาถา

สิทธิพุทธัง กิจจังมะมะ ผู้คนไหลมา นะชาลีติ

สิทธิธัมมัง จิตตังมะมะ ข้าวของไหลมา นะชาลีติ

สิทธิสังฆัง จิตตังมะมะ เงินทองไหลมา นะชาลีติ

ฉิมพลี มหาลาภัง ภะวันตุเม



วันนมัสการหลวงพ่อเงิน วันอังคาร วันพฤหัสบดี วันศุกร์ พร้อมด้วยดอกบัวหรือดอกมะลิ 9 ดอก หมาก 3 คำ จัดใส่พาน และธูป 9 ดอก เทียน 1 คู่ ให้ตั้งจิตอธิษฐานขอบารมีพุทธคุณของหลวงพ่อเงินคุ้มครอง ป้องกันภัยจากโจรผู้ร้าย ตลอดจนค้าขายของดีเลิศมีเมตตามหานิยม พุทธคุณของหลวงพ่อเงินเป็นที่รู้จักและเคารพนับถือของประชาชนทั่วไป โดยเฉพาะวัตถุมงคล อาทิเช่น รูปหล่อลอยองค์หลวงพ่อเงินพิมพ์นิยมและพิมพ์ขี้ตา ไข่ปลาหน้าจอบ หน้าจอบเล็ก ตะกรุดและความศักดิ์สิทธิ์ของน้ำมนต์ เป็นต้น ยังมีความอภินิหารอีกมากสุดที่จะนำมากล่าวนี้

คาถาหลวงพ่อเงิน สำหรับคงกระพัน ว่าดังนี้

พระพุทธัง พระเจ้าคงหนัง

พระธัมมัง พระเจ้าคงเนื้อ

พระสังฆัง พระเจ้าคงกระดูก

โอม เพชรคงคา ตรีคงสวาหะ



คาถาหลวงพ่อเงิน เวลาเดินทางไปไหนใช้ภาวนา

“ สุสูสัง อะระหัง ภคะวา ”

บทนี้ใช้สำหรับเมตตา หรือเวลาสูบบุหรี่ ว่าดังนี้ “ มัคคะยาเทวัง ”



ยาหลวงพ่อเงิน เป็นยากลางบ้าน ใช้เป็นยาถ่ายก็ได้ใช้ได้หลายชนิด เครื่องยาดังนี้

1. ขมิ้นอ้อย 5 แว่น ลงพระเจ้า 5 พระองค์ คือ นโมพุทธายะ ชิ้นละ 1 ตัวจะเป็นตัวขอมหรือตัวไทยก็ใช้ได้ ในขนุน 7 ใบ ลง สะทะวิ ปิปะสะอุ ใบมะกา 1 กำ ขี้กำฝอยกลางบ้าน 1 กำมือ เกลือ 3 หยิบ ต้มรับประทานท่านว่าหายแลฯ

พระคาถาขุนแผน



พระคาถาขุนแผน


เอหิมะมะ นะโมพุทธายะ นะมะพะทะ

ใช้ท่องกับของใช้ส่วนตัวอะไรก็ได้แล้วจะทำให้มีเสน่ห์เป็นที่หลงไหล

พระคาถาพระพุทธเจ้าชนะมาร (พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต)




พระคาถาพระพุทธเจ้าชนะมาร (พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต)

ปัญจะ มาเร ชิโน นาโถ ปัตโต สัมโพธิ

มุตตะมัง จะตุสัจจัง ปะกาเสติ

ธัมมะจักกัง ปะวัตตะยิ

เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ

โหตุ เม ชะยะมังคะลัง



ป้องกันอันตรายทั้งปวง ฯ ศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนัก

Monday, November 23, 2009

พุทธชัยมงคลพระคาถาพาหุงมหากา


พุทธชัยมงคลพระคาถาพาหุงมหากา


ถ้าสวดให้ตนเองเปลี่ยน เต เป็น เม


(๑) พาหุง สะหัสสะมะภินิมมิตะสาวุธันตังครีเมขะลังอุทิตะโฆระสะเสนะมารังทานาทิธัมมาะวิธินา ชิตะวา มุนินโทตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ


(๒) มาราติเรกะมะภิยุชฌิตะสัพพะรัตติงโฆรัมปะนาฬะวะกะมักขะมะถัทธะยักขังขันตีสุทันตะวิธินา ชิตะวา มุนินโทตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ


(๓) นาฬาคิริง คะชะวะรัง อะติมัตตะภูตังทาวัคคิจักกะมะสะนีวะ สุทารุณันตังเมตตัมพุเสกะวิธินา ชิตะวา มุนินโทตันเตชะสา ภะวะตุเต ชะยะมังคะลานิ


(๔) อุกขิตตะขัคคะมะติหัตถะสุทารุณันตังธาวันติโยชะนะปะถังคุลิมาละวันตังอิทธีภิสังขะตะมะโน ชิตะวา มุนินโทตันเตชะสา ภะวะตุเต ชะยะมังคะลานิ(๕) กัตวานะ กัฎฐะมุทะรัง อิวะ คัพภินียาจิญจายะ ทุฏฐะวะจะนัง ชะนะกายะมัชเฌสันเตนะ โสมะวิธินา ชิตะวา มุนินโทตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ


(๖) สัจจัง วิหายะ มะติสัจจะกะวาทะเกตุงวาทาภิโรปิตะมะนัง อะติอันธะภูตังปัญญาปะทีปะชะลิโต ชิตะวา มุนินโทตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ


(๗) นันโทปะนันทะภุชะคัง วิพุธัง มะหิทธิงปุตเตนะ เถระภุชะเคนะ ทะมาปะยันโตอิทธูปะเทสะวิธินา ชิตะวา มุนินโทตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ


(๘) ทุคคาหะทิฏฐิภุชะเคนะ สุทัฏฐะหัตถังพรัหมัง วิสุทธิชุติมิทธิพะกาภิธานังญาณาคะเทนะ วิธินา ชิตะวา มุนินโทตันเตชะสา ภะวะตุเต ชะยะมังคะลานิ


(๙) เอตาปิ พุทธะชะยะมังคะละอัฏฐะคาถาโย วาจะโน ทินะทิเน สะระเต มะตันทีหิตวานะเนกะวิวิธานิ จุปัททะวานิโมกขัง สุขัง อะธิคะเมยยะ นะโร สะปัญโญ


มะหาการุณิโก นาโถ หิตายะ สัพพะปาณินัง ปูเรตวา ปาระมี สัพพา ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โหตุ เต ชะยะมังคะลังฯ


ชะยันโต โพธิยา มูเล สักยานัง นันทิวัฑฒะโน เอวัง ตวัง วิชะโย โหหิ ชะยัสสุ ชะยะมังคะเล อะปะราชิตะปัลลังเก สีเส ปะฐะวิโปกขะเร อะภิเสเก สัพพะ พุทธานัง อัคคัปปัตโต ปะโมทะติฯ สุนักขัตตัง สุมังคะลัง สุปะภาตัง สุหุฏฐิตัง สุขะโณ สุมุหุตโต จะ สุยิฏฐัง พรัมหมะจาริสุ ปะทักขิณัง กายะกัมมัง วาจากัมมัง ปะทักขิณัง ปะทักขิณัง มะโนกัมมัง ปะณิธีเต ปะทักขิณา ปะทักขิณานิ กัตวานะ ละภันตัตเถ ปะทักขิเณฯ


ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา สัพพะพุทธานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เตฯ


ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา สัพพะธัมมานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เตฯ


ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา สัพพะสังฆานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต

คาถาหลวงปู่ทวด เหยียบน้ำทะเลจืด



คาถาหลวงปู่ทวด เหยียบน้ำทะเลจืด


ให้บูชาท่านด้วย ธูปแขก ๙ ดอก มะลิขาว ๙ ดอก


ตั้งนะโม ๓ จบ


แล้วระลึกถึงท่าน ขอบารมีต่างๆ ที่ต้องการ แล้วสวดพระคาถานี้


นะโม โพธิสัตโต อาคันติมายะ อะติภะคะวา

(๓ จบ)


คาถามหาเสน่ห์


จันโทอะภกันตะโร

ปิติ ปิโย เทวะมนุสสานัง

อิตภิโยปุริ โส

มะ อะ อุ อุ มะ อะ อิสวาสุ อิกะวิติ





คาถามหาเสน่ห์

ให้ภาวนาคาถามหาเสน่ห์นี้ ๓ จบก่อนออกไปพบคน

คาถามหาเสน่ห์ จะทำให้คนที่ต้องไปพบเกิดความรักใคร่ มีเมตตาต่อเรา

Wednesday, November 18, 2009

คาถาชินบัญชรสมเด็จ พระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี )


พระคาถาชินบัญชรสมเด็จ

พระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี )




กำเนิดพระคาถาชินบัญชร

กำเนิดพระคาถาชินบัญชร เรียบเรียงโดยคุณปัญญา นี้ได้คัดลอกมาจากหนังสือ พระคาถาชินบัญชร

เมื่อครั้งนั้น สมเด็จ (โต) ได้มีโอกาสเดิทางไปยัง จังหวัดกำแพงเพชร ท่านได้เดินทางไปที่วัดเก่าแห่งหนึ่งซึ่งมีกรุโบราณ ที่นั่นท่านได้พบคัมภีร์โบราณผูกหนึ่งฝังอยู่ในเจดีย์หัก สมเด็จจึงนำคัมภีร์ผูกนั้นมาเก็บไว้ที่กุฏิ ขณะนั้นสมเด็จ (โต) ท่านมีจิตดำริที่จะสร้างพระเครื่องเพื่อมอบให้แก่เจ้าปิยะ (ร.5) หรือพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อเป็นสมบัติในยุคสมัยครองราชย์ ระหว่างครุ่นคิดสมเด็จ (โต) ท่านก็ได้จำวัดหลับไป


ในคืนนั้นราวๆประมาณตี 3 สมเด็จ (โต) ได้นิมิตว่าท่านได้ตื่นขึ้น เห็นชายหนุ่มรูปงามรูปหนึ่งมายืนอยู่ที่หัวนอนในชุดนุ่งขาวห่มขาว มีรูปลักษณ์งดงามหาที่ติมิได้เลย สมเด็จ(โต) ท่านก็มองขึ้นตามกำหนดของจิต ทราบว่าหนุ่มรูปงามนี้คงจะไม่ใช่มนุษย์อย่างแน่นอน


สมเด็จ (โต) จึงถามว่า "ท่านผู้เจริญ การที่อาตมาได้มีโอกาสชมท่านนับว่าเป็นขวัญตาเหลือเกิน ท่านมาในสถานที่แห่งนี้ มีสิ่งใดที่อาตมาปฏิบัติผิดพลาดในหลักพระพุทธศาสนาเล่า ? ขอให้ท่านจงประสาทประทานการสอนให้อาตมาแจ่มแจ้งในพระธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเถิด


"ชายหนุ่มผู้นั้นจึงกล่าวขึ้นด้วยคำพูดที่เย็นกังวาน "ท่านโต วิธีการที่ท่านดำเนินงานอยู่นี้คล้ายกับองค์สมณะโคดมอยู่ แต่การที่ท่านคิดจะสร้างพระให้เป็นสิ่งที่ระลึกของมนุษย์นั้น สร้างแล้วสิ่งนั้นจะต้องดี ท่านโตเชื่อในเรื่องวิญญาณ เพราะฉะนั้นควรจะปฏิบัติตามกฏของโลกวิญญาณ คือวิธีการตั้งให้ถูกหลักการในการปลุกเสก


"สมเด็จ(โต) ท่านจึงกล่าวว่า "ท่านผู้เจริญ ขรัวโตนี้รับฟังความคิดเห็นของทุกคนหากแม้นท่านโปรดข้านี้ ขอได้โปรดบอกมาเถิด จะด่าว่าตักเตือนเราก็ไม่ว่า


"หนุ่มรูปงามผู้มีความสงบแลดูเป็นที่เลื่อมใส จึงได้แนะวิธีการต่างๆในเรื่องทิศทางว่าทิศใดเป็นทิศมงคล ในการวาง เทียน ธูป ดอกไม้ เทียนชัย ให้ตรงตามหลักของกฏระเบียบแห่งโลกวิญญาณ เรียกว่าเทวบัญญัติ หรือพรหมบัญญัติระหว่างนั้นสมเด็จ (โต) ยังคุมสติสัมปชัญญะอยู่ทุกเมื่อ จึงได้ถามหนุ่มรูปงามนั้นว่า "ท่านผู้รูปงามท่านนี้มีนามว่ากระไรหรอ?"


"หม่อมฉันนี้คือลูกศิษย์องค์พระโมคคัลลานะ หม่อมฉันสำเร็จเป็นอรหันต์เมื่ออายุ 7 ขวบ แต่ด้วยทิ้งสังขารก่อนอายุขัยจึงมิได้สู่แดนอรหันต์ คงยังอยู่ในแดนพรหมโลก เพราะหม่อมฉันไม่อยากติดสตรีมิชอบสตรี เพราะสตรีทำลายพรหมจารีย์ของหม่อมฉัน หม่อมฉันจึงทิ้งสังขารก่อนอายุขัย ทางโลกวิญญาณถือว่าสิ้นก่อนอายุขัย จึงอยู่รูปพรหม ถ้าท่านโตต้องการปรึกษาจากหม่อมฉัน ก็จงระลึกถึงชินนะบัญจะระ" มานพหนุ่มรูปงามกล่าวต่อสมเด็จ (โต) อย่างสำรวม


ต่อมาไม่ว่าสมเด็จ (โต) จะทำงานสิ่งใด จึงมักระลึกถึง ท่านท้าวมหาพรหมชินนะบัญจะระทีไร ท่านก็ปรากฎร่างทันที ช่วยเหลือสมเด็จ (โต) ประกอบพิธีต่างๆ จึงทำให้เครื่องรางของขลังของสมเด็จ (โต) มีความศักดิ์สิทธิ์มาก


สมเด็จ (โต) ท่านปลุกเสกพระสมเด็จรุ่นสุดท้าย 84,000 องค์ เรียกว่าสมเด็จอิทธิเจ ท่านได้แปลคาถาจากคัมภีร์ ซึ่งท่านพบจากกรุวัดที่กำแพงเพชร ซึ่งคัมภร์นั้นเขียนด้วยภาษาสิงหลได้ความบ้าง มิได้ความบ้าง จับใจความได้ว่าเป็นชื่ออรหันต์แปดสิบองค์ จึงได้ตัดต่อแก้ไขเพิ่มเติมเพื่อง่ายต่อการสวด จึงแปลใหม่ได้ความว่า "คาถาชินบัญชร" ซึ่งตรงกับชื่อท่านท้าวมหาพรหมชินนะบัญจะระ สมเด็จ (โต) ท่านจึงถือคาถาบทนี้เป็นการเทิดทูนท่านท้าวมหาพรหมชินนะบัญจะระ ที่ท่านได้ช่วยเหลือตลอดมา และพระคาถาบทนี้เป็นบทสวดในการนั่งปลุกเสกพระอิทธิเจรุ่นสุดท้าย ซึ่งสมเด็จ (โต) ท่านนั่งปลุกเสกอยู่เพียงผู้เดียว


พระคาถานี้มีอนุภาพศักดิ์สิทธิ์มาก ผู้ใดสวดมนต์หรือภาวนาอยู่เป็นประจำ ไม่ว่าจะ กิน เดิน นั่งนอน หรือภาวนาแม้ยามอาบน้ำ แปรงฟัน หรือทำงาน จะมีอนุภาพดังนี้ คือ


1. หากสวดมนต์อย่างน้อยวันละ 3 จบ อานุภาพจะคุ้มครองผู้นั้นไป 1 วัน กับ 1 คืน


2. เวลานั่งรถ เรือ หรือขับขี่รถ หรือเดินทาง ให้นึกภาวนาไปในใจ จะทำให้คลาดแคล้ว ปลอดภัยจากอุบัติเหตุทั้งปวงได้ชงัดนักเคยพ้นมามากต่อมากแล้ว


3.ผู้สวดมนต์ พระคาถานี้เป็นประจำ จะเป็นเสน่ห์มงคลด้วยประการทั้งปวง ไม่ว่าท่านจะอยู่ในเหตุการณ์ร้ายแรงอย่างใด ให้ภาวนาจะปลอดภัย แม้คนถูกกระทำของใส่คุณ หากเรารู้ตัวแล้วภาวนามิได้ขาด รับรองได้ว่าเขาทำอะไรเราไม่ได้เลย


4. หากภาวนาประจำมิได้ขาดเลยเรามักมีอะไรพิเศษ เช่น อาจฝันรู้เหตุการณ์ล่วงหน้า หากนอนแล้วภาวนาจนกระทั่งหลับ (ในใจ) คืนนั้นจะนอนหลับสบายเป็นพิเศษ ตื่นขึ้นมาจะมีความสุขปลอดโปร่งแจ่มใสเป็นพิเศษ บางทีกลางคืนจะมีอะไรดีๆ มาสอนเราด้วย


5. ผู้ที่มีอำนาจสมาธิจิตสูง สามารถจะภาวนาพระคาถานี้ ทำน้ำมนต์รักษาโรคบางชนิด ที่แพทย์ปัจจุบันรักษาไม่หายให้หายได้


6. ใครเจ็บไข้อยู่หากมีคนอื่น (แม้มิใช่ญาติ) บนบานกล่าวว่าจะสวดมนต์ให้ร้อยเที่ยว ห้าร้อยเที่ยว หรือหนึ่งพันเที่ยว ให้แก่เจ้ากรรมนายเวรเขามักจะหายป่วยจริงๆ (เคยทดลองมาแล้วแม้คนต่างศาสนากัน) หากผู้เจ็บป่วยที่นอนรักษาตัวอยู่ที่ไหนก็แล้วแต่หากภาวนาพระคาถานี้อยู่เรื่อยๆจะทำให้เขาหายป่วยเร็วขึ้น มากจนน่าแปลกใจ


7. ผู้ประกอบอาชีพต่างๆ หากยามว่างให้ภาวนาพระคาถาบทนี้จะทำให้อาชีพดีขึ้น เช่น ค้าขายดีขึ้นแม้ปลูกพืช ปลูกผักผลผลิตจะดีขึ้นหรือรายได้ดีขึ้น เด็กๆ นักเรียนหากสวดมนต์บทนี้ได้และสวดประจำบ่อยๆ หรือทุกคืนก่อนนอน จะเรียนเก่ง จำดีอย่างแน่นอนรับรอง


8. ผู้สวดมนต์พระคาถาบทนี้เป็นประจำแล้ว ประกอบอาชีพสุจริตไปด้วย จะทำให้ลดวิบากกรรมตัวเองให้เบาลงกว่าที่จะได้รับจริง หากกุศลส่งก็จะหนุนให้กุศลส่งแรงขึ้น หากใช้ไปนานชั่วชีวิตจะประสบสุขตามกุศลแน่นอน


9. เมื่อร่วมกันสวดอธิษฐานพร้อมๆ กันหลายคน หรือเวลาเดียวกัน จะมีอานุภาพบริสุทธิ์แผ่ออกไปกว้างไพศาลมากทำให้ผู้สวดก็ดี สถานที่บริเวณก็ดี รวมไปถึงประเทศชาติจะได้เจริญ และรอดพ้นจากภัยพิบัติทั้งหลายที่จะเกิดขึ้นแก่ประเทศ เราได้ ทำให้ประเทศเราเด่นดังในที่สุดได้


(อานุภาพของพระคาถายังมีอีกมาก หากทุกท่านหมั่นสวดมนต์ภาวนา ความเจริญ ความเมตตา หากินคล่องก็จะอยู่กับท่าน)


ผู้ใดได้สวดภาวนาพระคาถาชินบัญชรนี้เป็นประจำอยู่สม่ำเสมอ จะทำให้เกิดความสิริมงคลสมบูรณ์พูนผล ศัตรูหมู่พาลไม่กล้ำกราย ไปทางใดย่อมเกิดเมตตามหานิยม เกิดลาภผลพูนทวี ขจัดภัยจากภูตผีปีศาจ ตลอดจนคุณไสยต่างๆ ทำน้ำมนต์รดแก้วิกลจริตแก้สรรพโรคภัยหายสิ้น เป็นสิริมงคลแก่ชีวิต มีคุณานุภาพตามแต่จะปรารถนา ดังคำโบราณว่า "ฝอยท่วมหลังช้าง" จะเดินทางไปที่ใดๆ สวด 10 จบ แล้วอธิษฐานจะสำเร็จสมดังใจ

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ



ปุตตะกาโมละเภปุตตัง ธะนะกาโมละเภธะนัง

อัตถิกาเยกายะญายะ เทวานังปิยะตังสุตตะวา

อิติปิโสภะคะวา ยะมะราชาโน ท้าวเวสสุวัณโณ

มรณังสุขัง อะระหังสุคะโต นะโมพุทธายะ



๑ ชะยาสะนาคะตา พุทธา เชตะวา มารัง สะวาหะนัง จะตุสัจจาสะภัง ระสัง เย ปิวิงสุ นะราสะภา.


๒ ตัณหังกะราทะโย พุทธา อัฏฐะวีสะติ นายะกาสัพเพ ปะติฏฐิตา มัยหัง มัตถะเก เต มุนิสสะรา.


๓ สีเส ปะติฏฐิโต มัยหัง พุธโธ ธัมโม ทะวิโลจะเนสังโฆ ปะติฏฐิโต มัยหัง อุเร สัพพะคุณากะโร.


๔ หะทะเย เม อะนุรุทโธ สารีปุตโต จะ ทักขิเณโกณฑัญโญ ปิฏฐิภาคัสมิง โมคคัลลาโน จะวามะเก.


๕ ทักขิเณ สะวะเน มัยหัง อาสุง อานันทะราหุโลกัสสะโป จะ มะหานาโม อุภาสุง วามะโสตะเก.


๖ เกสันเต ปิฏฐิภาคัสมิง สุริโย วะ ปะภังกะโรนิสินโน สิริสัมปันโน โสภิโต มุนิปุงคะโว.


๗ กุมาระกัสสะโป เถโร มะเหสี จิตตะวาทะโกโส มัยหัง วะทะเนนิจัง ปะติฏฐาสิ คุณากะโร.


๘ ปุณโณ อังคุลิมาโล จะ อุปาลี นันทะสีวะลีเถรา ปัญจะ อิเม ชาตา นะลาเฏ ตีละกา มะมะ.


๙ เสสาสีติ มะหาเถรา วิชิตา ชินะสาวะกาเอเตสีติ มะหาเถรา ชิตะวันโต ชิโนระสาชะลันตา สีละเต เชนะ อังคะมังเคสุ สัณฐิตา.


๑๐ ระตะนัง ปุระโต อาสิ ทักขิเณ เมตตะสุตตะกังธะชัคคัง ปัจฉะโต อาสิ วาเม อังคุลิมาละกัง.


๑๑ ขันธะโมระปะริตตัญจะ อาฏานาฏิยะสุตตะกังอากาเส ฉะทะนัง อาสิ เสสา ปาการะสัณฐิตา.


๑๒ ชินนานา วะระสังยุตตา สัตตะปาการะลังกะตาวาตะปิตตาทิสัญชาตา พาหิรัชฌัตตุปัททะวา.


๑๓ อะเสสา วินะยัง ยันตุ อะนันตะชินะเตชะสาวะสะโต เม สะกิจเจนะ สะทา สัมพุทธะปัญชะเร.


๑๔ ชินะปัญชะระมัชฌัมหิ วิหะรันตัง มะฮี ตะเลสะทา ปาเลนตุ มัง สัพเพ เต มะหาปุริสาสะภา.


๑๕ อิจเจวะมันโต สุคุตโต สุรักโขชินานุภาเวนะ ชิตุปัททะโวธัมมานุภาเวนะ ชิตาริสังโฆสังฆานุภาเวนะ

ชิตันตะราโยสัทธัมมานุภาวะปาลิโต จะรามิ ชินะปัญชะเรติ. (กราบ ๓ หน)



คำแปลพระคาถาชินบัญชร


1. ชะยาสะนากะตา พุทธา เชตะวา มารังสะวาหะนัง จะตุสัจจาสะภัง ระสัง เย ปิวิงสุ นะราสะภาพระพุทธเจ้าและพระนราสภาทั้งหลายผู้ประทับนั่งแล้วบนชัยบัลลังก์ ทรงพิชิตพระยามาราธิราช ผู้พรั่งพร้อมด้วยเสนาราชพาหนะแล้ว เสวยอมตรสคือ อริยสัจธรรมทั้งสี่ประการ เป็นผู้นำสรรพสัตว์ให้ข้ามพ้นจากกิเลสและกองทุกข์


2. ตัณหังกะราทะโย พุทธา อัฏฐาวีสะติ นายะกาสัพเพ ปะติฏฐิตา มัยหัง มัตถะเก เต มุนิสสะรามี 28 พระองค์ คือพระผู้ทรงพระนามว่า ตัณหังกรเป็นอาทิพระพุทธเจ้าจอมมุนีทั้งหมดนั้น.


3. สีเส ปะติฏฐิโต มัยหัง พุทโธ ธัมโม ทะวิโลจะเน สังโฆ ปะติฏฐิโต มัยหัง อุเร สัพพะคุณากะโรข้าพระพุทธเจ้าขออัญเชิญมาประดิษฐานเหนือเศียรเกล้าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประดิษฐานอยู่บนศีรษะพระธรรมอยู่ที่ดวงตาทั้งสอง พระสงฆ์ผู้เป็นอากรบ่อเกิดแห่งสรรพคุณ อยู่ที่อก.


4. หะทะเย เม อะนุรุทโธ สารีปุตโต จะ ทักขิเณโกณฑัญโญ ปิฏฐิภาคัสมิง โมคคัลลาโน จะวามะเกพระอนุรุทธะอยู่ที่ใจ พระสารีบุตรอยู่เบื้องขวา พระโมคคัลลาน์อยู่เบื้องซ้าย พระอัญญาโกณฑัญญะอยู่เบื้องหลัง


5. ทักขิเณ สะวะเน มัยหัง อาสุง อานันทะราหุโล กัสสะโป จะ มะหานาโน อุภาสุง วามโสตะเกพระอานนท์กับพระราหุลอยู่หูขวา พระกัสสะปะกับพระมหานามะอยู่หูซ้าย


6. เกสะโต ปิฏฐิภาคัสมิง สุริโย วะ ปะภังกะโรนิสินโน สิริสัมปันโน โสภีโต มุนิ ปุงคะโวมุนีผู้ประเสริฐ คือ พระโสภิตะผู้สมบูรณ์ด้วยสิริ ดังพระอาทิตย์ส่องแสงอยู่ที่ทุกเส้นขน ตลอดร่างทั้งข้างหน้าและข้างหลัง


7. กุมาระกัสสะโป เถโร มะเหสี จิตตะวาทะโกโส มัยหัง วะทะเน นิจจัง ปะติฏฐาสิ คุณากะโรพระเถระกุมาระกัสสะปะผู้แสวงบุญทรงคุณอันวิเศษ มีวาทะอันวิจิตรไพเราะอยู่ปากเป็นประจำ


8. ปุณโณ อังคุลิมาโลจะ อุปาลี นันทะสีวะลีเถรา ปัญจะอิเมชาตา นะลาเฏ ติละกา มะมะพระปุณณะ พระอังคุลิมาล พระอุบาลี พระนันทะ และพระสีวะลี พระเถระทั้ง 5 นี้ จงปรากฏเกิดเป็นกระแจะจุณเจิมที่หน้าผาก


9. เสสาสีติ มะหาเถรา วิชิตา ชินะสาวะกาเอเตสีติ มะหาเถรา ชิตะวันโต ชินโนระสาชะลันตา สีละเตเชนะ อังคะมังเคสุ สัณฐิตาส่วนพระอสีติมหาเถระที่เหลือ ผู้มีชัยและเป็นพระโอรสเป็นพระสาวกของพระพุทธเจ้าผู้ทรงชัย แต่ละองค์ล้วนรุ่งเรืองไพโรจน์ด้วยเดชแห่งศีลให้ดำรงอยู่ทั่วอวัยวะน้อยใหญ่


10. ระตะนัง ปุระโต อาสิ ทักขิเณ เมตตะสุตตะกัง ธะชัคคัง ปัจฉะโต อาสิ วาเม อังคุลิมาละกังพระรัตนสูตรอยู่เบื้องหน้า พระเมตตาสูตรอยู่เบื้องขวา พระอังคุลิมาลปริตรอยู่เบื้องซ้าย พระธชัคคะสูตรอยู่เบื้องหลัง


11. ขันธะโมระปะริตตัญจะ อาฏานาฏิยะ สุตตะกัง อากาเส ฉะทะนัง อาสิ เสสา ปาการะสัณฐิตาพระขันธปริตร พระโมรปริตรและพระอาฏานาฏิยสูตร เป็นเครื่องกางกั้นดุจหลังคาอยู่บนนภากาศ


12. ชินา นานา วะระสังยุตตา สัตตัปปาการะลังกาตา วาตะปิตตาทิสัญชาตา พาหิรัชฌัตตุปัททะวาอนึ่งพระชินเจ้าทั้งหลายนอกที่ได้กล่าวมาแล้วนี้ ผู้ประกอบพร้อมด้วยกำลังนานาชนิดมีศีลาทิคุณอันมั่นคง คือสัตตะปราการเป็นอาภรณ์มาตั้งล้อมเป็นกำแพงคุ้มครองเจ็ดชั้น


13. อะเสสา วินะยัง ยันตุ อะนันตะชินะเตชะสาวะเสโต เม สะกิจเจนะ สะทา สัมพุทธะปัญชะเรด้วยเดชานุภาพแห่งพระอนันตชินเจ้าไม่ว่าจะทำกิจการใด ๆ เมื่อข้าพระพุทธเจ้าเข้าอาศัยอยู่ในพระบัญชรแวดวงกรงล้อม แห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ขอโรคอุปัทวะทุกข์ทั้งภายนอกและภายใน อันเกิดแต่โรคร้าย คือ โรคลมและโรคดีเป็นต้น เป็นสมุฏฐานจงกำจัดให้พินาศไปอย่าได้เหลือ


14. ชินะปัญชะระมัชฌัมหิ วิหะรันตัง มะหีตะเลสะทา ปาเลนตุ มัง สัพเพ เต มะหาปุริสา สะภาขอพระมหาบุรุษผู้ทรงพระคุณอันล้ำเลิศทั้งปวงนั้น จงอภิบาลข้าพระพุทธเจ้า ผู้อยู่ในภาคพื้นท่ามกลางพระชินบัญชร ข้าพระพุทธเจ้าได้รับการคุ้มครองปกปักรักษาภายในเป็นอันดี ฉะนี้แล


15. อิจเจวะมันโต สุคุตโต สุรักโข ชินานุภาเวนะชิตูปัททะโว ธัมมานุภาเวนะ ชิตาริสังโฆ สังฆานุภาเวนะชิตันตะวาโย สัทธัมมานุภาวะปาลิโต จะรามิชินะปัญชะเรติ.ข้าพระพุทธเจ้า ได้รับการอภิบาลด้วยคุณานุภาพแห่งสัทธรรม จึงชนะเสียได้ซึ่งอุปัทวะอันตรายใด ๆ ด้วยอานุภาพแห่งพระชินะพุทธเจ้า ชนะข้าศึกศัตรูด้วยอานุภาพแห่งพระธรรม ชนะอันตรายทั้งปวงด้วยอานุภาพแห่งพระสงฆ์ ขอข้าพระพุทธเจ้าจงได้ปฏิบัติและรักษาดำเนินไปโดยสวัสดีเป็นนิจนิรันดร เทอญ.


คาถาบูชาเหรียญเทพเจ้าไท่ส่วยเอี้ย




คาถาบูชาเหรียญเทพเจ้าไท่ส่วยเอี้ย

โอม สะ ระ วะ ตะ ถา คะ โต

ศะ นี ศะ สิ ตา ตะ ปะ เต หูม ผัฏ(ผัด)

หูม มะ มะ หู นิ สะ วา หา

คาถาบูชาพระพุทธชินราช




คาถาบูชาพระพุทธชินราช


กาเยนะ วาจายะวะ เจตะสาวา ชินะราชาพุทธรูปัง สิริธัมมะติปิ ตะกะราเชนะ กะตัง นะมามีหัง พุทธธังอาราชธนานัง ธัมมังอาราชธนานังสังฆังอาราชธนานัง ชินะราชาพุทธธะรูปังอาราชธนานัง พุทธธังลาภมานะชาลีติ ธัมมังลาภมานะชาลีติ สังฆังลาภมานะชาลีติอุอะมะนะโมพุทธธายะ พามานะอุกะ สะนะถุประสิทธิเม

คาถาบูชาพระคุณพ่อ-แม่



คาถาบูชาพระคุณพ่อ-แม่

มัยหัง มาตาปิตูนังวะ
ปาเทสุ วันทามิ สาทะรัง
(กราบ 1 ครั้ง)


สวดคาถาบูชาพ่อแม่ทุกครั้งก่อนนอน

อานิสงค์ที่สวดจะทำให้ท่านและคอบครัวมีความสุข

คาถาบูชาพระแก้วมรกต




คาถาบูชาพระแก้วมรกต

คาถาบูชาพระแก้วมรกตพุทธะมะหามะณีระตะนะปะฏิมากะรัง ปูเชมิ

ทุติยัมปิ พุทธะมะหามะณีระตะนะปะฏิมากะรัง ปูเชมิ

ตะติยัมปิ พุทธะมะหามะณีระตะนะปะฏิมากะรัง ปูเชมิ

เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ มะหาเตโช เจวะ มะหาปัญโญ

จะ มะหาโภโค จะ มะหายะโส จะ ภะวันตุ เม

นิพพานัสสะ ปัจจะโย โหตุ (หรือ วาละลุกัง สังวาตังวา)

คาถาบูชาขอลาภประจำวันเกิดทั้ง 7 วัน



คาถาบูชาขอลาภประจำวันเกิดทั้ง 7 วัน



วันอาทิตย์

ฉิมพะลี จะ มหานามังสัพพะลาภัง

ภะวิสสะติเถรัสสานุภาเวนะ สะทาโหนติ ปิยัง มะมะ

ท่อง 6 จบ


วันจันทร์

ยัง ยัง ปุริโสวา อิตถีวาทูเรหิวา

สะมีเปหิวาเถรัสสานุภาเวนะ สะทาโหนติ ปิยัง มะ มะ

ท่อง 15 จบ



วันอังคาร

ฉิมพะลี จะ มหาเถโรโสระโห ปัจจะยาทิมหิเชยยะลาโภ

มหาลาโภสัพพะลาภา ภะวันตุ สัพพะทา

ท่อง 8 จบ



วันพุธ

ทิตติตถะภะเวราชาปิยาจะ คะระตุเม เยสารัตติ นิรันตะรังสัพพะสุขาวะหา

ท่อง 17 จบ




วันพฤหัสบดี

ฉิมพะลี จะ มหาเถโรยักขาเทวาภิปูชิโต

โสระโหปัจจะยาทิมหิ อะหังวันทามิ สัพพะทา

ท่อง 19 จบ



วันศุกร์

ฉิมพะลี จะ มหาเถโร เทวะตานะนะ ระปูชิโต โสระโหปัจจะยาทิมหิ

มหาลาภังกะโรนตุ เม ลาเภนะอุตตะโม โหติสัพพะลาภะ ภะวันตุ สัพพะทา

ท่อง 21 จบ




วันเสาร์

ฉิมพะลี จะ มหานามัง อินทาพรหมา จะปูชิตังสัพพะลาภัง

ปะสิทธิ เมเภรัสสานุภาเวนะ สะทาสุขี ปิยัง มะมะ

ท่อง 10 จบ

คาถามหากรุณาธารณีสูตร เจ้าแม่กวนอิม


คาถามหากรุณาธารณีสูตร เจ้าแม่กวนอิม



บทมหากรุณาธารณีสูตร

โชยชิ่ว โชยงั่ง บ่อไหง๋ ไต่ปุยซิมทอลอ นีจิ่ว (๓ จบ)
ปึงซือออนีทอ ยูไล้ (๓ จบ)
นำมอ ฮอลาตัน นอตอลา เหย่ เยนำมอ ออลีเย ผ่อลูกิดตีซอปอลาเยผู่ทีสัตตอพอเย หม่อฮอสัตตอพอเยหม่อ ฮอเกียลูนี เกียเยงัน สัตพันลาฮัวอีซูตัน นอตันเซนำมอ สิดกิด ลีตออีหม่งออลีเยผ่อลูกิด ตีสิด ฮูลาเลงถ่อพอนำมอ นอลา กินซีซีลี หม่อฮอพันตอซาเมสะพอ ออทอ เตาซีพงออซีเย็น สะพอ สะตอ นอมอ พอสะตอนอมอ พอเค มอฮัว เตอเตาตันจิต ทองัน ออพอ ลูซีลูเกียตี เกียลอตี อีซีลีหม่อฮอ ผู่ทีสัตตอ สัตพอ สัตพอมอลา มอลา มอซี มอซี ลีทอยินกีลูกีลูกิดมง ตูลู ตูลู ฟาเซเยตีหม่อ ฮอฮัว เซเยตี ทอลา ทอลาตีลีนี สิด ฮูลาเย เจลา เจลา มอมอ ฮัวมอลา หมกตีลีอีซี อีซี สิดนอ สิดนอ ออลาซัน ฮูลาเซลีฮัวซอ ฮัวซัน ฮูลา เซเยฮูลู ฮูลู มอลา ฮูลู ฮูลู ซีลี ซอลา ซอลาสิดลี สิดลี ซูลู ซูลู ผู่ถี่เย ผู่ถี่เย ผู่ถ่อเย ผู่ถ่อเยมีตีลีเย นอลา กินซี ตีลีสิด นีนอผ่อเย มอนอ ซอผ่อฮอ สิดถ่อเย ซอผ่อฮอหม่อฮอ สิดถ่อเย ซอผ่อฮอ สิดทอยีอีสิดพันลาเย ซอผ่อฮอ นอลากินซี ซอผ่อฮอมอลานอลา ซอผ่อฮอ สิดลาเซง ออหมกเคเยซอผ่อฮอ ซอผ่อหม่อฮอ ออสิดถ่อเย ซอผ่อฮอเจกิดลา ออสิดถ่อเย ซอผ่อฮอ ปอทอมอกิดสิดถ่อเยซอผ่อฮอ นอลากินซี พันเคลาเย ซอผ่อฮอมอพอลี เซงกิดลาเย ซอผ่อฮอนำมอห่อลาตัน นอตอลาเยเยนำมอออลีเย ผ่อลูกิตตี ชอพันลาเย ซอผ่อฮองันสิดตินตู มันตอลา ปัดถ่อเย ซอผ่อฮอ


(เจ้าแม่กวนอิมมหาโพธิสัตว์ (อวโลกิเตศวร)
ผู้ทรงแบ่งภาคได้หลายภาค เพื่อมาโปรดสรรพสัตว์ทั้งหลาย และทรงเอื้ออารีย์แก่มวลมนุษย์ที่ได้กราบไหว้บูชาให้ประสบผลสำเร็จอันพึงปรารถนาได้อย่างน่ามหัศจรรย์ ท่านสามารถช่วยปัดเป่าความทุกข์ภัยพยันตรายให้ท่านที่เดือดร้อน ท่านสามารถสวดคาถาบูชาเจ้าแม่กวนอิมให้ครบ ๑๐๘ จบทุกวันโดยตั้งจิตอธิษฐานให้แน่วแน่ ก็จะได้ผลสำเร็จอันพึงปรารถนาทุกประการ)

Tuesday, November 17, 2009

คาถาสวดบูชาเจ้าแม่กวนอิม




คาถาสวดบูชาเจ้าแม่กวนอิม

เจ้าแม่กวนอิมมหาโพธิสัตว์ (อวโลกิเตศวร) ผู้ทรงแบ่งภาคได้หลายภาค เพื่อมาโปรดสรรพสัตว์ทั้งหลาย และทรงเอื้ออารีย์แก่มวลมนุษย์ที่ได้กราบไหว้บูชาให้ประสบผลสำเร็จอันพึงปรารถนาได้อย่างน่ามหัศจรรย์ ท่านสามารถช่วยปัดเป่าความทุกข์ภัย ให้ท่านที่เดือดร้อน ท่านสามารถสวดคาถาบูชาเจ้าแม่กวนอิมให้ครบ ๑๐๘ จบทุกวันโดยตั้งจิตอธิษฐานให้แน่วแน่ ก็จะได้ผลสำเร็จอันพึงปรารถนาทุกประการ

เจ้าเเม่กวนอิมเป็นพระโพธิสัตว์ที่มีคนนับถือกันมาก ช่วยให้คนพ้นทุกข์ ขอให้มีจิตใจเคารพบูชาอย่างซื่อตรง พร้อมท่องชื่อท่านจะได้รับการคุ้มครองให้เป็นสุข หากต้องการขอบุตร ให้บูชากวนอิมส่งบุตร อยากหายไข้ บูชากวนอิมกิ่งหยก


ข้อควรระวังในการบูชา
1.ควรตั้งรูปปั้นหันไปทางทิศตะวันออก จะเพิ่มอานุภาพให้บ้านเรือนสงบสุข
2.เว้นเเต่ว่าที่บ้านกินเจ มิฉะนั้นห้ามตั้ง รูปปั้นท่านหันทางโต๊ะกินข้าว
3.รูปปั้นไม่ควรเอาหลังพิงห้องน้ำหรือหัน
4.อย่าตั้งรูปปั้นหันหน้าเข้าประตูห้อง หลีกเลี่ยงคุณไสย



คาถาบูชาเจ้าแม่กวนอิม...แบบย่อ

นำโมไต๋ชื้อ ไต๋ปุย กิวโคว่ กิวหลั่ง กวงไต๋เล่งก้ำ กวงสี่อิมผู่สัก (กราบ)

นำโมไต๋ชื้อ ไต๋ปุย กิวโคว่ กิวหลั่ง กวงไต๋เล่งก้ำ กวงสี่อิมผู่สัก (กราบ)

นำโมไต๋ชื้อ ไต๋ปุย กิวโคว่ กิวหลั่ง กวงไต๋เล่งก้ำ กวงสี่อิมผู่สัก (กราบ)

นำโมฮูก นำโมหวบ นำโมเจ็ง นำโมกิวโคว่ กิวหลั่ง กวงสี่อิมผู่สัก

ทั่งจี้โตโอม เกียล้อฮวดโต เกียล้อฮวดโต เกียล้อฮวดโต ล้อเกียฮวดโต ล้อเกียฮวดโต

ซาผ่อออ เทียงล้อซิ้ง ตี่ล้อซิ้ง นั้งลี่หลั่ง หลั่งลี่ซิ้ง

เจ็กเฉียก ใจเอียง ห่วยอุ่ยติ๊งนำโมม่อออป่อเยี๊ยปอล้อบิ๊ก (กราบ)


(เป็นการออกเสียงตามภาษาจีนแต้จิ๋วที่ชาวไทยเชื้อสายจีนในไทยแปลไว้ทั้งสองบท แต่ในความเป็นจริงแล้ว ท่านสามารถอธิษฐานเป็นภาษาไทยหรือภาษาอะไรก็ได้ เพราะว่าการสื่อความหมายจะใช้แรงอธิษฐาน ที่เกิดจากความตั้งใจอันแน่วแน่ของผู้กราบไหว้ในขณะสวดบริกรรมนั่นเองที่สำคัญที่สุด)

การประพฤติพรหมจรรย์



การประพฤติพรหมจรรย์

พฺรหฺมจริยญฺจ
เร่งประพฤติ พรหมจรรย์ อันประเสริฐ์

เพื่อให้เกิด สุขล้วน โดยถ้วนถี่

ตั้งแต่ทาน ถึงสิกขา บรรดามี

สมบูรณ์ดี พรหมจรรย์ ย่อมมั่นคล


คำว่าพรหมจรรย์หมายความถึง การบวชซึ่งละเว้นเมถุน การครองชีวิตที่ปราศจากเมถุน การประพฤติธรรมอันประเสริฐ ท่านว่าลักษณะของธรรมที่ถือว่าเป็นการประพฤติพรหมจรรย์นั้น (ไม่ใช่ว่าต้องบวชเป็นพระ) มีอยู่ดังนี้คือ
๑.ให้ทาน บริจาคทานไม่ว่าจะเป็นทรัพย์ สิ่งของ เงินทอง หรือปัญญา (ทาน)
๒.ช่วยเหลือผู้อื่นในกิจการงานที่ชอบ ที่ถูกที่ควร (เวยยาวัจจมัย)
๓.รักษาศีล ๕ คือไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักขโมย ไม่ทำผิดในกาม ไม่พูดปด ไม่ดื่มน้ำเมา (เบญจศีล)
๔.มีเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขากับคนที่เราต้องพบปะด้วยทุกคน (อัปปมัญญา)
๕.งดเว้นจากการเสพกาม (เมถุนวิรัติ)
๖.ยินดีในคู่ของตน คือการมีสามีหรือภรรยาคนเดียว (สทารสันโดษ)
๗.เพียรพยายามที่จะละความชั่ว ไม่ท้อถอยในความบากบั่น (วิริยะ)
๘.รักษาซึ่งศีล ๘ คือ ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักขโมย ไม่ร่วมประเวณี ไม่พูดปด ไม่ดื่มน้ำเมา ไม่บริโภคอาหารตั้งแต่เที่ยงวันเป็นต้นไป ไม่ฟ้อนรำ ขับร้อง บรรเลงดนตรี ดูการละเล่น ใช้ของหอมหรือเครื่องประดับ ไม่นอนบนที่สูงใหญ่ หรูหรา (องค์อุโบสถ)
๙.ใช้ปัญญาเห็นแจ้งใน ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค (อริยมรรค)
๑๐.ศึกษาปฏิบัติในศีล สมาธิ ปัญญา ให้รู้แจ้งเห็นจริง (สิกขา)
*ขออธิบายเพิ่มเติมว่าข้อ ๕ ที่บอกว่าให้งดเว้นการเสพกาม แต่ข้อ ๖ ให้ยินดีในคู่ของตนนั้น เพราะว่าการประพฤติพรหมจรรย์ในที่นี้หมายถึง บุคคลทั่วไปที่อาจมีครอบครัวแล้ว ก็ประพฤติพรหมจรรย์ได้โดยการงดเว้นการร่วมประเวณี เช่นในวันสำคัญๆเป็นต้น
ในตำราบางเล่ม ก็มีการเพิ่มเติม นั่นคือ
- ศาสนา คือ ผู้ปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า
- สมณธรรม คือ ประพฤติกิริยา วาจา ใจ ให้สงบ
สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า “ฆราวาสนี้ เป็นที่คับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลีอันล่อใจให้กำหนัดขัดเคือง ลุ่มหลงและมัวเมา การบรรพชาเป็นช่องว่างห่างจากอารมณ์เช่นนั้น เป็นทางที่จะได้บำเพ็ญประโยชน์ตน ประโยชน์ท่าน ทำชีวิตให้มีผลไม่เป็นหมัน เป็นเหตุกำจัดกิเลสให้ขาดจากจิตสันดานโดยไม่เหลือ”
การตัดความกังวลได้ ย่อมเป็นปัจจัยให้เกิดปัญญา ชักพาให้แลเห็นอรรถธรรมได้อย่างแจ่มแจ้งค่ะ ตลอดจนได้ปัญญาอย่างสูงสุด ดังนั้น พระพุทธองค์ตรัสว่า พรหมจรรย์เป็นมงคลเครื่องเจริญ เพราะเป็นทางที่จำทำให้ขึ้นสู่มงคลอย่างสูงตามลำดับค่ะ...

คาถาแผ่เมตตา




คาถาแผ่เมตตา (แผ่ให้สรรพสัตว์ทั้งหลาย)
สัพเพ สัตตา อะเวรา โหนตุ
อัพพะยาปัชฌา โหนตุ
อะนีฆา โหนตุ
สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งสิ้น
จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย
จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย
จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจเลย
จงมีความสุขกาย สุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเทอญ

คาถาแผ่เมตตาตนเอง
อะหัง สุขิโต โหมิ
อะหัง นิททุกโข โหมิ
อะหัง อะเวโร โหมิ
อะหัง อัพยาปัชโฌ โหมิ
สุขี อัตตานัง ปะริหะรามิ
ขอให้ข้าพเจ้ามีความสุข
ขอให้ข้าพเจ้าปราศจากความทุกข์
ขอให้ข้าพเจ้าปราศจากเวร
ขอให้ข้าพเจ้าปราศจากอุปสรรคอันตรายทั้งปวง
ขอให้ข้าพเจ้าจงมีความสุขกายสุขใจ รักษากายวาจาใจให้พันจากความทุกข์ภัยทั้งปวงเถิด

คาถาแผ่เมตตาพรหมวิหารสี่
บทเมตตา
สัพเพ สัตตา
สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งสิ้น
อะเวรา โหนตุ
จงเป็นผู้ไม่มีเวรแก่กันและกันเถิด
อัพยาปัชฌา โหนตุ
จงเป็นผู้ไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน
อะนีฆา โหนตุ
จงเป็นผู้ไม่มีทุกข์กาย ทุกข์ใจเถิด
สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
จงเป็นผู้มีสุข พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด
บทกรุณา
สัพเพ สัตตา
สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งสิ้น
สัพพะทุกขา ปะมุจจันตุ
จงพ้นจากทุกข์เถิด
บทมุทิตา
สัพเพ สัตตา
สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งสิ้น
มา ลัทธะสัมปัตติโต วิมุจจันตุ
จงอย่าไปปราศจากสมบัติอันตนได้แล้วเถิด
บทอุเบกขา
สัพเพ สัตตา
สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ทั้งสิ้น
กัมมัสสะกา
เป็นผู้มีกรรมเป็นของของตน
กัมมะทายาทา
เป็นผู้รับผลของกรรม
กัมมะโยนิ
เป็นผู้มีกรรมเป็นกำเนิด
กัมมะพันธุ
เป็นผู้มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์
กัมมะปะฏิสะระณา
เป็นผู้มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย
ยัง กัมมัง กะริสสันติ
กระทำกรรมอันใดไว้
กัลยาณัง วา ปาปะกัง วา
ดีหรือชั่ว
ตัสสะ ทายาทา ภะวิสสันติ
จักเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น


คาถาแผ่ส่วนกุศ

ลอิทัง เม มาตาปิตูนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ มาตาปิตะโรขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่มารดา บิดาของข้าพเจ้า ขอให้มารดา บิดาของข้าพเจ้ามีความสุขอิทัง เม ญาตีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ ญาตะโยขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า ขอให้ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้ามีความสุขอิทัง เม คุรูปัชฌายาจริยานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ คุรูปัชฌายาจริยาขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ของข้าพเจ้า ขอให้ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ของข้าพเจ้ามีความสุขอิทัง สัพพะเทวะตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพเทวาขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่เทวดาทั้งหลายทั้งปวง ขอให้เทวดาทั้งหลายทั้งปวงมีความสุขอิทัง สัพพะเปตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ เปตาขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่เปรตทั้งหลายทั้งปวง ขอให้เปรตทั้งหลายทั้งปวงมีความสุขอิทัง สัพพะเวรีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพเวรีขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายทั้งปวง ขอให้เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายทั้งปวงมีความสุขอิทัง สัพพะสัตตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ สัตตาขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ขอให้สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงมีความสุขทั่วหน้ากันเทอญ

บทกรวดน้ำให้เจ้ากรรมนายเวร
เมื่อเสร็จพิธีทำบุญและพระสงฆ์กล่าวรับแล้วให้กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้กับเจ้ากรรมนายเวรของเราโดยว่าดังนี้ข้าพเจ้าขออุทิศบุญกุศลจากการเจริญภาวนานี้ให้แก่เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายของข้าพเจ้า ที่ข้าพเจ้าได้เคยล่วงเกินท่านไว้ ตั้งแต่อดีตชาติจนถึงปัจจุบันชาติ ท่านจะอยู่ภพใดหรือภูมิใดก็ตาม ขอให้ท่านได้รับผลบุญนี้ แล้วโปรดอโหสิกรรม และอนุโมทนายบุญแก่ข้าพเจ้าด้วยอำนาจบุญนี้ด้วยเทอญ

ประโยชน์ของการแผ่เมตตา




ประโยชน์ของการแผ่เมตตาที่พระพุทธเจ้ากล่าวไว้มี 11 ประการได้แก่

• ทำให้หลับก็เป็นสุข

• ตื่นก็เป็นสุข

• ไม่ฝันร้าย

• เป็นที่รักของมนุษย์ทั้งหลาย

• เป็นที่รักของอมนุษย์ทั้งหลาย (ผีเปรต อสุรกาย วิญญาณต่างๆ)

• เทวดาทั้งหลายย่อมคุ้มครอง

• แคล้วคลาดจากภยันอันตราย

• จิตเป็นสมาธิได้ง่าย

• สีหน้าย่อมผ่องใส

• เมื่อจะตายใจก็สงบ (สู่สุคติภูมิ)

• ถ้ายังไม่บรรลุคุณธรรมพิเศษที่สูงกว่า ย่อมเข้าถึงชั้นพรหม

เหรียญพระครูประสาทสาธุกิจ


เหรียญพระครูประสาทสาธุกิจ
"พระครูประสาทสาธุกิจ" หรือ "หลวงปู่บุญจันทร์ สุญาโณ" อดีตเจ้าคณะอำเภอเชียงยืน และอดีตเจ้าอาวาสวัดบูรพา ต.เหล่าดอกไม้ อ.เชียง ยืน จ.มหาสารคาม พระเกจิอาจารย์รุ่นเก่าที่มีชื่อเสียงรูปหนึ่งของเมืองสารคาม เป็นผู้สืบทอดปฏิปทาและวิทยาคมจาก "หลวงปู่สิงห์ โสภโณ" วัดกุญชรวนาราม บูรพาจารย์รุ่นเก่าของภาคอีสานพระครูประสาทสาธุกิจ เกิดเมื่อปี พ.ศ.2462 อุปสมบทกับหลวงปู่สิงห์ โสภโณ ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์ พร้อมทั้งศึกษาเล่าเรียนวิทยาคมจากท่าน ได้มรณภาพอย่างสงบ เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2540 สิริอายุ 79 พรรษา 58

วัตถุมงคลของพระครูประสาทสาธุกิจ ถือเป็นสุดยอดปรารถนาของบรรดาเซียนพระและนักสะสมพระเครื่องยิ่งนัก โดยเฉพาะ เหรียญพระครูประสาทสาธุกิจ เนื้อทองแดง จำนวนการสร้างไม่เกิน 3,000 เหรียญ คณะศิษยานุศิษย์วัดบูรพาและทายกทายิกาชาวบ้านผักแว่น ได้ร่วมกันจัดสร้างขึ้นในปี พ.ศ.2510 เพื่อเป็นการบูชาครูและเนื่องในโอกาสที่พระครูประสาทสาธุกิจ ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองเจ้าคณะอำเภอเชียงยืน นับเป็นเหรียญรุ่นแรกของท่าน ด้านหน้าเหรียญ เป็นรูปเหมือนพระครูประสาทสาธุกิจครึ่งองค์ บริเวณด้านซ้ายโค้งลงไปด้านล่างวนขึ้นไปตามขอบเหรียญด้านขวามีตัวหนังสือ 2 แถวใหญ่ เขียนคำว่า "หลวงพ่อพระครูประสาทสาธุกิจ" ตัวหนังสือแถวเล็กซ้อนอยู่ด้านบน เขียนคำว่า "รองเจ้าคณะอำเภอเชียงยืน" ส่วนด้านหลังเหรียญ เริ่มจากด้านซ้ายโค้งลงไปทางด้านล่างวนขึ้นไปตามขอบเหรียญด้านขวาเขียนว่า "วัดบูรพาบ้านผักแว่น อ.เชียงยืน จ.มหาสารคาม" และบริเวณกลางเหรียญมีอักขระอ่านว่า นะมะพะทะ นะมะอะอุ นะชาริติ เป็นคาถา 3 หัวใจมหาเมตตามหานิยม แคล้วคลาดปลอดภัย สำหรับเหรียญรุ่นนี้ ได้ประกอบพิธีพุทธา ภิเษกที่วัดบูรพา บ้านผักแว่น โดยมีพระเกจิอาจารย์ชื่อดังในพื้นที่นั่งปรกหลายรูป อาทิ หลวงปู่สิงห์ โสภโณ เป็นต้นภายหลังเสร็จพิธีพุทธาภิเษก ได้มีการนำออกแจกจ่ายให้กับพุทธศาสนิกชน คณะศิษย์ และมอบให้กับผู้ที่บริจาคปัจจัยก่อสร้างเสนาสนะวัดบ้านบูรพา ด้วยเจตนาการจัดสร้างที่บริสุทธิ์ พลังจิตพระเกจิคณาจารย์ที่ร่วมพิธีพุทธาภิเษก ล้วนแก่กล้าเข้มขลัง เหรียญรุ่นนี้จึงเป็นที่โจษจันในเรื่องพุทธคุณรอบด้าน ส่วนราคาเช่าหาในวงการนักสะสมพระเครื่องเหรียญสวยๆ จะอยู่ที่หลักพันต้น สวยน้อยลงมาหลักร้อยปลาย ตามศูนย์พระเครื่องในเมืองมหาสารคาม ไม่ค่อยพบเห็นบ่อยนัก เพราะเป็นเหรียญที่ซื้อง่าย ขายคล่อง และเป็นเหรียญพระเกจิเหรียญหนึ่งของเมืองมหาสาร คาม ที่อยู่ในสารบบรายการประกวดพระเครื่องของภาคอีสานมาโดยตลอด คราวใดเมื่อมีเหรียญสวยๆ หลุดเข้าสนามพระ บรรดาศิษยานุศิษย์ต่างสู้ราคากันแบบไม่อั้น เพื่อเก็บเป็นสมบัติส่วนตัวไว้ครอบครองจึงเป็นวัตถุมงคลที่ผู้เลื่อมใสศรัทธาควรหาบูชาไว้ในครอบครอง



ขอบคุณข้อมูลจาก : ข่าวสด